Tuesday, January 17, 2012

กลยุทธ์หมากล้อม ไม่มุ่งเอาชนะ..ย่อมไม่แพ้

ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ซีพี ออลล์   ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ซีพี ออลล์
 
วิกฤติรอบนี้ คือ โอกาสของ..ซีพี ออลล์ ชี้ภาพบริษัทอีก 10 ปีข้างหน้าจะยึดหัวหาดทุกพื้นใช้เป็นช่องทาง “ขาย” อย่างสมบูรณ์แบบ
ภาย ใต้กลยุทธ์ขยายสาขาร้าน 7-Eleven ชนิด “ปูพรม” เสมือนวางหมากล้อมไว้ทั่วกระดาน แต่แท้จริงแล้ว ปรัชญาของหมากล้อม เขียนไว้ชัดเจนว่า “ชนะโดยไม่มุ่งที่จะเอาชนะใคร”
 

สอดคล้องกับคำพูดที่.."ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บอสใหญ่ บมจ.ซีพี ออลล์ บอกไว้ว่า ทุกพื้นที่ของร้านเซเว่นฯไปเปิดยังพื้นที่ใดไม่เคยไป “ฆ่า” โชวห่วย หากแต่ไปกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายมากขึ้น เหมือนทุกหมาก(ทุกสาขา)ที่วางลงบนกระดาน ถูกร้อยโยงเข้าด้วยกันเป็นหนึ่ง
หมากกระดานนี้ของซีพี ออลล์ จึงยังไม่มีทั้ง "ผู้แพ้" และไม่มี "ผู้ชนะ" เพราะเกมยังไม่จบเหมือนการเติบโตที่ยังไม่หยุดนิ่ง
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีพี ออลล์ ให้ความมั่นใจว่า ทุกครั้งที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ นั่นคือ “โอกาส” ที่บริษัทจะเติบโต เหมือนกับสมัยปี 2540 ที่ ร้าน 7-Eleven สามารถเติบโตสวนทางเศรษฐกิจขาลง เพราะได้โอกาสลงทุนจ้างคนและตั้งสาขาในต้นทุนที่ต่ำกว่าปกติ
“12 ปีที่แล้ว เรายังมีจำนวนสาขาเพียง 800 แห่ง ตอนนี้เรามี 4,800 แห่ง เราโตเร็วในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังแย่สุดๆ ด้วยซ้ำ ส่วนปีนี้ เรายังมีการเติบโตแน่นอน”
ปัจจัยความสำเร็จของซีพี ออลล์ นอกเหนือจากบุคลากรที่มี “พลัง” ในการให้บริการ 80,000 คนทั่วประเทศแล้วยังมีอำนาจต่อรองกับผู้ผลิตสินค้าสูงมาก สามารถดึงสินค้าที่ดีและดังที่สุดมาวางขายในร้านได้ก่อนใครหรือบางชิ้นมี จำหน่ายเฉพาะที่ร้าน 7-Eleven เพียงที่เดียว
“เรากล้าพูดได้ว่าสินค้าใดๆ ในประเทศที่ไม่เข้ามาขายในร้าน 7-Eleven ถือว่าน่าเสียดายโอกาสอย่างยิ่ง”
เขา ยังชี้ภาพของซีพี ออลล์ ในอีก 10 ปีข้างหน้า ยังมีโอกาสเติบโตและพัฒนาในเชิงบริการได้เหมือนกับประเทศที่เป็นต้นแบบอย่าง ญี่ปุ่น ซึ่งร้าน 7-Eleven ที่นั่นสามารถขายอาหารแช่แข็งได้ถึงวันละสามเวลา ส่วนไทยในอนาคตจะสามารถจำหน่ายได้สองเวลาเช้า-เย็น โดยของไม่เหลือทิ้ง ในอนาคต คือการเพิ่มสัดส่วนสินค้าอาหารภายในร้านอย่างต่อเนื่อง ชูคอนเซ็ปต์ “ร้านค้าอิ่มสะดวก” (Convinience Food Store) 
นอกจากนี้ กำลังขยายธุรกิจออกไปสู่การเป็นช่องทางการตลาดครบวงจร เช่น จำหน่ายสินค้าวาไรตี้ อย่างซีดีเพลง หนังสือนิตยสาร รวมถึงกำลังเจรจากับธนาคารพาณิชย์เพื่อตั้งเคาน์เตอร์ในสาขาของร้านด้วย
“เรายังตามหลังญี่ปุ่นซึ่งเป็นตัวเปรียบเทียบ ประมาณ 10 ปี เมื่อถึงเวลานั้นร้าน 7-Eleven จะเป็นช่องทางจำหน่ายอาหารและบริการที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก”
ส่วนแผนการขยายสาขา ปัจจุบันร้าน 7-Eleven มีอัตราการเปิดสาขาใหม่วันละ 1-2 สาขา ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับที่ประเทศไต้หวัน คิดเป็นอัตราเฉลี่ยปีละ 400 สาขาต่อเนื่องทุกปี นอกจากนี้ยังวางแผนที่จะลุยเปิดร้าน 7-Eleven ที่ประเทศเวียดนาม โดยปัจจุบันกำลังยื่นขอใบอนุญาตกับทางการ
สำหรับคำถามที่ว่าการเติบโตอย่างรวดเร็วใกล้ถึง “ทางตัน” แล้วหรือยัง..? ก่อศักดิ์ ตอบว่า ตอนนี้ไทยมีร้านสะดวกซื้อ 10,000 แห่งกับประชากร 65 ล้านคน ส่วนประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 120 ล้านคน มีร้านสะดวกซื้อ 50,000 แห่ง คิดสัดส่วนแล้วช่องว่างที่จะขยายสาขายังมีอีกมาก 
“เรายังจะเปิดสาขาอย่างต่อเนื่อง ภายในปี 2562 (อีก 10 ปี) เราจะมีจำนวนสาขาถึง 10,000 แห่งทั่วประเทศอย่างแน่นอน”
ส่วนแนวโน้มธุรกิจในปีนี้ เกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ รองกรรมการผู้จัดการการเงินและลงทุนสัมพันธ์ กล่าวว่า บริษัทยังคงตั้งเป้าแบบอนุรักษ์นิยมเช่นเดิม คาดว่ารายได้รวมในปีนี้น่าจะเติบโตได้ 3-5% แม้ปีที่ผ่านมารายได้โตถึง 20% และย้อนหลัง 5 ปี รายได้มีการเติบโต 20% มาตลอด
“ตัวเลขย้อนหลัง 10 ปี ตลาดค้าปลีกมีการเติบโตเฉลี่ย 5% ซึ่งเราตั้งเป้าเติบโตตามตัวเลขนั้นมาโดยตลอด”
โดยในปีที่ผ่านมา ยอดการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันต่อหนึ่งสาขาอยู่ที่ 68,709 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีที่แล้ว จำนวนลูกค้าที่เข้าร้านต่อวันเฉลี่ยอยู่ที่ 1,195 ราย เพิ่มขึ้น 3.5% จากปีที่แล้ว และยอดขายของร้านเดิม (Same Store Sale) ยังเติบโต 5.5% จากปีที่แล้ว
ด้านสัดส่วนสินค้าที่ขายส่วนใหญ่ยังเป็น Food 72.4% และ Non Food 27.6% ส่วน Gross margin ของสินค้าอาหารเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วจาก 27.3% เป็น 28.2%
“การที่เราเน้นสินค้าอาหารนอกจากจะมีกำไรขั้นต้นสูงกว่าสินค้าของใช้แล้ว ยังมีอัตราหมุนเวียนสูง ทำให้กระแสเงินสดของเราไหลอย่างรวดเร็ว”
ส่วนไฮไลต์สำคัญหลังจากที่ตัดขายธุรกิจห้างโลตัสที่ปะเทศจีนออกไปแล้ว (ปกติขาดทุนปีละ 3,000 ล้านบาท) ทำให้ซีพี ออลล์ มีฐานะเป็นเพียงแค่ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพ มูลค่า 4,726 ล้านบาท อายุ 3-5 ปี ถือผ่านบริษัท เจียไต๋ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศฮ่องกง ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหม่
“เงินสดที่ได้จากการขายหุ้นเรายังไม่แปลงมาเป็นกำไรขาดทุนทันทีแต่แปลงมา อยู่ในส่วนของผู้ถือหุ้นและจะทยอยได้รับเงินคืนเมื่อหุ้นกู้หมดอายุและขายทำ กำไรออกมา โดยคิดอัตราดอกเบี้ยที่ 1% ต่อปี”
ส่วนแผนการลงทุนปีนี้ คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 3,400-3,800 ล้านบาท ในการเปิดสาขาใหม่ 400-450 สาขา รวมถึงงบประมาณปรับปรุงสาขา 2,000 ล้านบาท และวางระบบไอทีและศูนย์กระจายสินค้าอีก 500-600 ล้านบาท ปัจจุบันมีเงินสดในมือ 11,897 ล้านบาท รองรับการลงทุนและจ่ายปันผลได้อย่างสบาย
เกรียงชัย ยังชี้ให้เห็นอัตราส่วนการเงินของบริษัทที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน โดยอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจาก 26.4% มาเป็น 27.2% ซึ่งเป็นการเติบโตสูงกว่าทุกปี และROE เพิ่มจาก 16.3% เมื่อปี 2550 เป็น 25.5% และปัจจุบันบริษัทมีสถานะปลอดหนี้ (Net Cash)
คาดว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนในปีนี้ น่าจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีที่แล้ว ส่วนแนวโน้มหุ้น CPALL ในสายตา “ต่างชาติ” มือการเงินรายนี้ บอกว่า เท่าที่ออกโรดโชว์ในต่างประเทศ นักลงทุนยัง Over Weight หุ้น CPALL เช่นเดิมและยังมีนักลงทุนสถาบันหลายแห่งสนใจแม้ภาวะการลงทุนภาพรวมยังไม่ อำนวย
จากการตรวจสอบของกรุงเทพธุรกิจ BizWeek พบว่า ตั้งแต่วันที่ 17 พ.ย.2551 ถึงวันที่ 6 มีนาคม 2552 ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ได้ทยอย “ขาย” หุ้น CPALL ออกไปรวม 2,050,000 หุ้น ที่ราคาเฉลี่ย 11.90 บาท ได้รับเงินรวม 24.39 ล้านบาท โดยเป็นการขายออกเพียง "ขาเดียว"

No comments:

Post a Comment