Friday, September 23, 2011

อาการบวมในช่องปาก

ปกติแล้วในช่องปากของคนเราจะปกคลุมไปด้วยเนื้อ เยื่ออ่อนสีชมพูจางๆ เรียบ ลื่น แต่ถ้าหากบริเวณใดบริเวณหนึ่งในช่องปากมีการบวมนั่นอาจจะเป็นสิ่งบ่งบอกว่า มีความปกติอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว
ริมฝีปากบวมอาจเกิดจากอาการแพ้ต่อสิ่ง ที่สัมผัสกับริมฝีปาก เช่น อาหารบางประเภท เครื่องสำอางค์ ยา เป็นต้น บางกรณีการได้รับความร้อน ความเย็น ความเครียด การอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน ก็มีส่วนกระตุ้นให้เกิดริมฝีปากบวมได้เช่นกัน ริมฝีปากบวมที่เกิดจากอาการแพ้นั้นเมื่อได้รับยาแก้แพ้อาการควรจะดีขึ้น หากอาการบวมยังคงอยู่ควรจะมาตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุที่ถูกต้องต่อไป
เหงือกบวมสาเหตุที่ทำให้เหงือกบวมนั้นมีได้หลายสาเหตุ อย่างเช่น
มีการสะสมของหินปูนที่ฟันหินปูนเต็มไป ด้วยเชื้อโรคที่ทำให้เหงือกรอบๆ ซี่ฟันและระหว่างซี่ฟันอักเสบบวมและยังสามารถละลายกระดูกเบ้าฟัน ทำให้เหงือกร่น ฟันโยกได้ เมื่อกระดูกเบ้าฟันถูกทำลายมากขึ้นจะเกิดร่องลึกระหว่างเหงือกและฟันทำให้มี เชื้อโรคสะสมที่ก้นของร่องลึก เกิดการติดเชื้อเป็นหนองและบวมได้ การรักษาสามารถทำได้โดยการพยายามใช้เครื่องมือทางทันตกรรมล้วงเข้าไปทำความ สะอาดในร่องลึกระหว่างเหงือกและฟันดังกล่าว และอาจจะต้องมีการตัดแต่งเหงือกที่ไม่แข็งแรง แต่ถ้าหากกระดูกเบ้าฟันถูกทำลายไปมากจนทำให้ฟันโยก ฟันซี่นั้นอาจจะต้องถูกถอนออกไป
ฟันผุทะลุโพรงประสาทฟันเมื่อมีฟันที่ผุ จนทะลุถึงโพรงประสาทฟันที่อยู่กลางตัวฟันจะทำให้เชื้อโรคสามารถเข้าสู่โพรง ประสาทฟัน มีการติดอักเสบติดเชื้อในตัวฟันลามไปถึงปลายรากฟัน หากยังไม่ได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ การอักเสบจะลุกลามไปยังกระดูกรอบๆ รากฟัน ทำให้เกิดหนองหรือถุงน้ำปลายรากฟัน ซึ่งเราสามารถเห็นได้ทางคลินิกในลักษณะของเหงือกบวม
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนมีผลทำให้เหงือกบวมได้ ที่พบบ่อยคือในผู้หญิงมีครรภ์
  • การได้รับยาบางกลุ่มก็มีผลให้เหงือกบวมโดยทั่วไปได้ เช่น ยาบางตัวในกลุ่มของยากันชัก ยาโรคหัวใจที่ออกฤทธิ์โดยการต้านแคลเซียม ยากดภูมิคุ้มกัน ยาคุมกำเนิด เป็นต้น หากพบว่าเหงือกบวมจากผลของยา การหยุดยาดังกล่าวอาจจะช่วยลดขนาดของเหงือกที่บวมลงไปได้ หากยังมีบางตำแหน่งที่เหงือกยังบวมโตอยู่หลังจากหยุดยาแล้ว การตัดแต่งเหงือกจะสามารถช่วยลดขนาดของเหงือกบวมได้
  • หากกำจัดสิ่งที่น่าจะเป็นสาเหตุของเหงือกบวมแล้ว แต่เหงือกยังบวมอยู่ อาจเป็นไปได้ว่ามีการพัฒนาของเนื้องอก การรักษาก็ทำได้โดยการตัดเหงือกบริเวณนั้นออกและอาจจะรวมถึงกระดูกโดยรอบ ด้วย
เพดานปากบวมอาการบวมบริเวณเพดานปากอาจมีสาเหตุมาจาก
เนื้องอกของต่อมน้ำลายที่พบได้บ่อยใน บริเวณเพดานจะเป็นเนื้องอกของต่อมน้ำลายเล็กๆ ที่อยู่บริเวณเพดาน เนื้องอกจะโตช้า ปกคลุมด้วยเนื้อเยื่อปกติในช่องปาก เวลาคลำจะรู้สึกว่าก้อนเนื้อมีความแน่นแต่ไม่แข็งเหมือนคลำกระดูก ไม่ค่อยมีอาการเจ็บ การรักษาคือ การผ่าตัดเอารอยโรคออก
ถุงน้ำบริเวณขากรรไกรถุงน้ำที่พบบริเวณ นี้อาจจะเป็นถุงน้ำที่เกิดร่วมกับการมีฟันฝังคุดในกระดูกขากรรไกร หรือเป็นถุงน้ำที่เกิดขึ้นจากส่วนของเนื้อเยื่อที่พัฒนาเป็นฟันที่ยังคง เหลืออยู่หลังจากที่มีการสร้างฟันเรียบร้อยแล้ว ถุงน้ำเหล่านี้จะโตแบบช้าๆ หากถุงน้ำมีขนาดใหญ่อาจจะทำให้รากฟันที่อยู่ใกล้รอยโรคมีการเคลื่อนที่ บิดหมุน หรือซ้อนเกจากการเบียดของถุงน้ำ ถุงน้ำบางชนิดมีอัตราการกลับมาเป็นซ้ำหลังจากการรักษาค่อนข้างสูง ดังนั้นการให้การวินิจฉัยที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการพิจารณาให้การ รักษาที่เหมาะสม
หากบริเวณที่บวมค่อนข้างแข็งคล้ายกระดูก อาจเกิดจากมีฟันฝังคุดบริเวณนั้น หรือมีปุ่มกระดูกโตกว่าปกติซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต ปุ่มกระดูกที่โตนี้พบได้หลายขนาดต่างๆ กันตั้งแต่ไม่ถึงเซ็นติเมตรจนถึงหลายๆ เซ็นติเมตรจนบางครั้งอาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดความรำคาญเนื่องจากจะมีอาการ ระคายเคืองเมื่อทานอาหาร ปุ่มกระดูกนี้อาจจะขัดขวางการใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ที่ต้องมีการพาดผ่านเพดาน เพื่อเพิ่มการยึดอยู่ในช่องปากของฟันปลอม หากมีอาการระคายเคืองหรือต้องใส่ฟันปลอมผู้ป่วยสามารถมารับการผ่าตัดปุ่ม กระดูกเหล่านี้ออกได้
ปุ่มกระดูกที่โตมากกว่าปกตินี้สามารถพบได้ที่ ขากรรไกรล่างด้านลิ้นและบริเวณเหงือกด้วยเช่นกัน ซึ่งก็สามารถตัดแต่งได้ในกรณีที่เกิดอาการระคายเคืองหรือต้องใส่ฟันปลอมแบบ ถอดได้
เนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากบวมบางกรณีการ กัดกระพุ้งแก้มต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานจะทำให้บริเวณที่ถูกกัดบวมโตขึ้น เป็นตุ่มนูน ที่พบได้บ่อยคือ ผู้ป่วยถอนฟันไปบางซี่เป็นระยะนานแล้วไม่ได้ใส่ฟันปลอมทดแทน กระพุ้งแก้มที่อยู่บริเวณฟันที่ถอนไปก็จะเข้ามาที่ช่องว่างนั้นได้ง่าย เนื่องจากไม่มีฟันคอยกันไว้และถูกกัด เมื่อเวลาผ่านไปเกิดเป็นตุ่มนูนขึ้น หรือในผู้ป่วยที่ใส่เครื่องมือจัดฟันจะพบได้ว่าเนื้อเยื่ออ่อนด้านในของริม ฝีปากบนหรือล่างจะถูกระคายเคืองทำให้เป็นตุ่มนูนเล็กๆ ขึ้นมาได้เช่นกัน กรณีมีตุ่มนูนเหล่านี้ไม่เป็นอันตราย แต่อาจจะสร้างความรำคาญหรือความกังวลให้ผู้ป่วย การรักษาทำได้โดยตัดเนื้อเยื่อบริเวณนั้นออก และแก้ที่สาเหตุด้วยหากเป็นไปได้ อย่างเช่น ใส่ฟันปลอมในกรณีที่มีฟันที่ถอนไปนาน หรือทาวาสลีนเคลือบเครื่องมือจัดฟันเพื่อลดการระคายเคือง
การกัดด้านในของริมฝีปากล่างอาจจะตัดท่อน้ำลาย ของต่อมน้ำลายเล็กๆที่อยู่บริเวณนั้น ทำให้มีการขังของน้ำลายในเนื้อเยื่ออ่อนทำให้มีการบวมเป็นลักษณะตุ่มนูนใสๆ ซึ่งตุ่มนูนที่มีการขังของน้ำลายนี้พบได้หลายบริเวณในช่องปาก เนื่องจากในช่องปากมีต่อมน้ำลายเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป หากตุ่มนูนนี้เกิดขึ้นบริเวณผิวบนๆ ก็สามารถแตกยุบไปได้เอง แต่ถ้าหากตุ่มนูนเกิดบริเวณชั้นที่อยู่ลึกลงไปของเนื้อเยื่ออ่อนอาจจะไม่แตก เอง ประกอบกับการกัดซ้ำบริเวณที่นูนนั้นก็ทำให้ตุ่มนูนหนาตัวขึ้นและมีขนาดใหญ่ ขึ้นได้ ซึ่งการรักษาก็ทำได้โดยการตัดตุ่มนูนนี้ออกร่วมกับต่อมน้ำลายที่อยู่ข้าง เคียงเพื่อลดการกลับมาเป็นซ้ำ
ตุ่มนูนที่เกิดจากการขังของน้ำลายนี้สามารถพบ ได้ที่บริเวณใต้ลิ้นด้วย ลักษณะทางคลินิกที่เห็นอาจจะเป็นตุ่มน้ำสีม่วงน้ำเงินคล้ายท้องกบหากเกิด บริเวณผิวบนๆ ของเนื้อเยื่ออ่อน หรือเห็นเป็นตุ่มยกนูนใหญ่ใต้ลิ้นสีคล้ายเนื้อเยื่อใต้ลิ้นปกติหากเกิด บริเวณที่ลึกลงไป ขนาดที่พบตุ่มน้ำลายนูนนี้มีตั้งแต่ไม่ถึงเซ็นติเมตรจนถึงหลายเซ็นติเมตร หากตุ่มนูนนี้มีขนาดใหญ่มากจะทำให้ลิ้นถูกยกขึ้นได้ทำให้ผู้ป่วยรำคาญ การรักษาทำได้โดยการทำให้ขนาดรอยโรคเล็กลงก่อนแล้วตัดออก หรือตัดรอยโรคออกทั้งหมดรวมทั้งต่อมน้ำลายที่เกี่ยวข้องด้วย
การบวมบริเวณขากรรไกรขากรรไกรล่างบวมโต ช้าๆ มีฟันโยกหรือไม่โยกก็ได้ อาจจะเกี่ยวข้องกับการเกิดถุงน้ำในขากรรไกร หรือเป็นเนื้องอกในขากรรไกร เนื้องอกที่พบบ่อยที่ขากรรไกรล่างรู้จักกันในนาม “มะเร็งกรามช้าง” เนื้องอกชนิดนี้จะมีการบวมโตของขากรรไกรอย่างช้าๆ ไม่ค่อยมีอาการเจ็บปวด แม้ว่าจะไม่ใช่มะเร็งแต่มะเร็งกรามช้างก็มีพฤติกรรมค่อนข้างรุนแรงคือจะมี การทำลายกระดูกและเนื้อเยื่อรอบๆได้มาก เมื่อถ่ายภาพรังสีจะพบมีเงาดำในกระดูกขากรรไกรซึ่งแสดงถึงการถูกทำลาย ของกระดูก ฟันที่อยู่ใกล้รอยโรคอาจจะมีโยก รากฟันละลาย ฟันเคลื่อนที่ได้ การรักษาทำได้โดยการผ่าตัดเอารอยโรครวมถึงเนื้อเยื่อรอบๆออก หากเนื้องอกมีขนาดใหญ่มากอาจจะต้องตัดขากรรไกรล่างบริเวณที่เป็นรอยโรคออก ด้วย เนื่องจากเป็นเนื้องอกที่มีการกลับมาเป็นซ้ำได้สูงดังนั้นการกลับมาตรวจเช็ค บริเวณรอยโรคเป็นระยะๆ ตามคำแนะนำของทันตแพทย์จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก
จะเห็นได้ว่าอาการบวมในช่องปากส่วนใหญ่เป็น ลักษณะของความผิดปกติ ดังนั้นหากมีการบวมเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งใดในช่องปากผู้ป่วยควรรีบไป ปรึกษาทันตแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องและการรักษาที่เหมาะสม ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพื่อสุขภาพในช่องปากที่ดีของผู้ป่วยเองมาใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากกันเถอะค่ะ

อำเภอฆ้องชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอฆ้องชัย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกาฬสินธุ์

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอฆ้องชัยตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

[แก้] ประวัติ

ท้องที่อำเภอฆ้องชัยเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอกมลาไสย ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอฆ้องชัย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ปีเดียวกัน[1] และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอฆ้องชัย โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน[2]

[แก้] การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอฆ้องชัยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 48 หมู่บ้าน ได้แก่
1. ฆ้องชัยพัฒนา


(Khong Chai Phatthana)


11 หมู่บ้าน
2. เหล่ากลาง


(Lao Klang)


8 หมู่บ้าน
3. โคกสะอาด


(Khok Sa-at)


12 หมู่บ้าน
4. โนนศิลาเลิง


(Non Sila Loeng)


9 หมู่บ้าน
5. ลำชี


(Lam Chi)


8 หมู่บ้าน

[แก้] การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอฆ้องชัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
  • เทศบาลตำบลฆ้องชัยพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฆ้องชัยพัฒนาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่ากลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหล่ากลางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกสะอาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโนนศิลาเลิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนศิลาเลิงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลำชี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำชีทั้งตำบล

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอฆ้องชัย". ราชกิจจานุเบกษา 114 (ฉบับที่ พิเศษ 51 ง): 4. 25 มิถุนายน 2540. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/E/051/4.PDF.
  2. ^ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐". ราชกิจจานุเบกษา 124 (ฉบับที่ 46 ก): 14-21. 24 สิงหาคม 2550. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/A/046/14.PDF.

ชักจากไข้สูง (febrile convulsion)

คำจำกัดความ

อาการชักที่พบร่วมกับอาการตัวร้อน (เป็นไข้) ในเด็กที่ไม่มีความผิดปกติของสมองมาก่อน โดยที่อาการตัวร้อนนั้นไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคติดเชื้อของระบบประสาทและสมอง (เช่น สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มาลาเรียขึ้นสมอง พิษสุนัขบ้า บาดทะยัก เป็นต้น) แต่อาจมีสาเหตุจากโรคอื่นๆ
อาการชักจากไข้พบได้ประมาณร้อยละ ๒-๕ พบมากในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง มักพบในช่วงอายุ ๖ เดือน-๕ ขวบ (ส่วนใหญ่พบในช่วงอายุ ๑-๒ ขวบ)

อาการ

ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นไข้, ตัวร้อน ร่วมกับอาการของโรคที่เป็นสาเหตุของอาการไข้ เช่น เป็นหวัด, เจ็บคอ, ไอ, ท้องเดิน, ถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือด เป็นต้น ต่อมาจะมีอาการชักแบบกระตุกทั้งตัว, ตาค้าง, กัดฟัน, กัดลิ้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นพร้อมอาการตัวร้อนในวันแรก หรือในวันหลังๆ ก็ได้ โดยทั่วไปจะชักนานครั้งละ ๒-๓ นาที มักไม่เกิน ๑๕ นาที อาการชักก็จะหยุดไปเอง หลังหยุดชัก เด็กจะฟื้นคืนสติเป็นปกติ ไม่ซึม ไม่มีอาการแขนขาอ่อนแรง และมักจะไม่ชักซ้ำอีกในการเจ็บป่วยครั้งนั้น
บางคนเมื่อเว้นไปนานหลายเดือนหรือเป็นปี อาจมีไข้และชักซ้ำโดยมีลักษณะเช่นเดิมอีก ลักษณะการชักดังกล่าว เรียกว่า “อาการชักจากไข้ชนิดไม่ซับซ้อน (simple febrile convulsion)” ซึ่งเป็นชนิดที่ไม่มีอันตรายอะไร
บางคนอาจเป็นชนิดรุนแรง เรียกว่า “อาการชักจากไข้ชนิดซับซ้อน (complex febrile convulsion)” กล่าวคือ จะมีอาการชักเพียงซีกใดซีกหนึ่ง หรือเฉพาะที่แขนขาข้างใดข้างหนึ่ง แต่ละครั้งชักนานเกิน ๑๕ นาที หรือมีอาการชักเกิดขึ้นซ้ำภายใน ๒๔ ชั่วโมงหรือในการเจ็บป่วยครั้งนั้นๆ หรือภายหลังการชักอาจมีอาการซึมหรือแขนขาอ่อนแรง ถ้ามีอาการชักต่อเนื่องนานเกิน ๓๐ นาที หรือชักสั้นๆ แต่เป็นหลายครั้งติดๆ กันในระยะใกล้กันมาก โดยที่ระหว่างการหยุดชักช่วงสั้นๆ แต่ละครั้งเด็กไม่ได้ตื่นขึ้นมาเป็นปกติ รวมเวลานานเกิน ๓๐ นาที เรียกว่า “อาการชักจากไข้ชนิดต่อเนื่อง (febrile status epilepticus)”

สาเหตุ

อาการชักจากไข้มักมีสาเหตุจากโรคอื่นๆ เช่น ไข้หวัด, ไข้หวัดใหญ่, หัด, ทอนซิลอักเสบ, หูชั้นกลางอักเสบ, ปอดอักเสบ, ท้องเดิน, โรคบิด (ถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือด) และ ส่าไข้ เป็นต้น ส่วนสาเหตุที่อาการไข้กระตุ้นให้เด็กชัก ยังไม่สามารถอธิบายได้ มีข้อน่าสังเกตว่าประมาณร้อยละ ๙๕ ของเด็กที่มีอาการชักจากไข้ จะมีอาการเกิดขึ้นก่อน อายุ ๕ ขวบ ในกลุ่มเด็กอายุเกิน ๗ ขวบ จะพบอาการนี้น้อยมาก นอกจากนี้ยัง พบว่า เด็กที่มีพ่อแม่หรือพี่ๆ มีประวัติชักจากไข้ จะมีโอกาสเกิดอาการชักจากไข้มากกว่าเด็กอื่น และจะชักซ้ำได้มากกว่าเด็กอื่น จากการศึกษาพบว่า อาการชักจากไข้สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้

การวินิจฉัย

อาการชักร่วมกับเป็นไข้ อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น
  1. โรคติดเชื้อของสมอง (เช่น สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มาลาเรียขึ้นสมอง เป็นต้น) จะมีไข้ ปวดหัว อาเจียน ซึม เพ้อ ไม่ค่อยรู้สึกตัว ชักต่อเนื่องกันนานหรือเกือบตลอดเวลา หรือหมดสติ
  2. บาดทะยัก จะมีไข้ ขากรรไกรแข็ง (อ้าปาก ลำบาก ทำท่าเหมือนยิ้มแสยะ) ชักกระตุกเป็นพักๆ เฉพาะเวลาที่สัมผัสถูกตัว ถูกแสงจ้าๆ หรือเสียงดัง มักมีบาดแผลตามผิวหนัง เช่น ตะปูตำ หนามเกี่ยว
  3. พิษสุนัขบ้า จะมีไข้ร่วมกับอาการกลัวลม กลัวน้ำ กระสับกระส่าย ชัก ไม่ค่อยรู้สึกตัวหรือหมดสติ มักมีประวัติถูกสุนัขหรือแมวกัดหรือข่วน ภายใน ๑-๓ เดือน (บางคนอาจนานเป็นปี)
  4. โรคลมชัก (ลมบ้าหมู) เด็กที่เป็นโรคลมชัก เวลามีไข้ขึ้นก็อาจเกิดอาการชักได้ บางคนอาจมีประวัติเคยเป็นโรคลมชักมาก่อน
หากสงสัยว่าเป็นจากสาเหตุข้อใดข้อหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ก็ควรรีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาล การวินิจฉัยอาการชักจากไข้ แพทย์มักจะอาศัยการซักประวัติและตรวจร่างกายเป็นพื้นฐาน ในกรณีที่เป็นการชักครั้งแรก อาจต้องทำการเจาะหลังเพื่อนำน้ำไขสันหลังไปพิสูจน์ว่ามีสาเหตุจากโรคติด เชื้อของสมองหรือไม่ นอกจากนี้หากจำเป็น อาจต้องทำการตรวจเลือด, ตรวจปัสสาวะ, ตรวจคลื่นสมอง หรือตรวจพิเศษอื่นๆ

ภาวะแทรกซ้อน

อาการชักจากไข้ส่วนใหญ่ เป็นภาวะที่ไม่รุนแรง และไม่เป็นอันตรายต่อสมอง มีอัตราการตายต่ำมาก (แม้จะเป็นอาการชักจากไข้ชนิดต่อเนื่อง คือชักนานเกิน ๓๐ นาทีก็ตาม) รวมทั้งไม่มีผลกระทบต่อระดับเชาวน์ปัญญาของเด็ก มีเพียงร้อยละ ๒-๑๐ ของเด็กที่ชักจากไข้ อาจเกิดโรคลมชักตามมาในภายหลัง (พบว่าร้อยละ ๑๕ ของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคลมชัก มีประวัติเคยมีอาการชักจากไข้ในสมัยเด็กมาก่อน) แต่มีผู้ป่วยบางรายที่อาจมีโรคลมชักตามมาได้ โดยกลุ่มที่อาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคลมชักตามมา มักมีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
  1. มีประวัติว่าพ่อแม่หรือญาติพี่น้องเป็นโรคลมชัก
  2. ผู้ป่วยมีความผิดปกติของระบบประสาทและ สมองก่อนหน้าที่จะมีอาการชักจากไข้
  3. มีอาการชักจากไข้ชนิดซับซ้อน
  4. มีอาการชักจากไข้เกิดขึ้นภายในเวลาสั้น หลังมีไข้
  5. มีอาการชักจากไข้บ่อยครั้ง (ซึ่งก็เพิ่มโอกาสของการเกิดโรคลมชักมากกว่าคนปกติเพียงเล็กน้อย)

แม้ว่าเด็กที่เคยมีอาการชักจากไข้มาครั้งหนึ่งแล้วมักจะไม่ชักซ้ำ อีก แต่ก็มีผู้ป่วยบางรายที่กลับมาชักจากไข้สูงซ้ำได้อีก โดยมีโอกาสชักซ้ำประมาณร้อยละ ๓๐-๔๐ โดยทั่วไปมีเพียงร้อยละ ๑๐ เท่านั้นที่อาจชักซ้ำเกิน ๓ ครั้ง และเมื่ออายุเกิน ๕ ขวบ และอาการชักจากไข้มักจะหายไปได้เองเมื่ออายุมากขึ้น กลุ่มที่อาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการชักซ้ำ มักมีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังนี้
  1. มีประวัติว่าพ่อแม่หรือญาติพี่น้องมีอาการชักจากไข้
  2. ชักครั้งแรกเมื่ออายุต่ำกว่า ๑๘ เดือน
  3. ชักร่วมกับอาการไข้ไม่สูงมาก (ถ้าชักร่วมกับไข้สูงมาก มีโอกาสชักซ้ำน้อย)
  4. อาการชักเกิดขึ้นภายใน ๑ ชั่วโมง หลังมีไข้
  5. เป็นไข้ (ตัวร้อน) บ่อยครั้ง

การรักษาและยา

แพทย์จะให้การรักษา ตามสาเหตุของอาการไข้ และความรุนแรงของอาการชัก ดังนี้
  1. รักษาสาเหตุของไข้โดยให้ยาลดไข้และ ยาบรรเทาอาการเท่าที่จำเป็น อาจต้องให้ยาปฏิชีวนะ เช่น อะม็อกซีซิลลิน, โคไตรม็อกซาโซล, อีริโทรไมซิน เป็นต้น ในรายที่เกิดจากโรคติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ทอนซิลอักเสบ, หูชั้นกลางอักเสบ, โรคบิด เป็นต้น
  2. ส่วนอาการชัก แพทย์จะให้การดูแลรักษา ดังนี้
    • ถ้ายังชักต่อเนื่องเกิน ๑๐ นาที (ขณะตรวจยังไม่หยุดชัก) แพทย์จะให้ยาแก้ชัก เช่น ยาไดอะซีแพม (diazepam) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือสวนทางทวารหนัก หรือให้ยาไมดาโซแลม (midazolam) หยอดให้ทางจมูก
    • ถ้ามาถึงโรงพยาบาล เด็กหยุดชักแล้ว แพทย์จะให้ยากันชักร่วมกับยาลดไข้และยารักษาโรค (ตามข้อ ๑) ให้กลับไปกินที่บ้าน เมื่อไข้หายดีแล้ว แพทย์อาจแนะนำให้มียาลดไข้และยากันชักเก็บสำรองไว้ประจำบ้าน ต่อไปทุกครั้งที่เด็กมีไข้ใหม่ก็ให้รีบกินยาลดไข้ร่วมกับยากันชัก (ได้แก่ ไดอะซีแพม กินขนาดวันละ ๑ มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว ๑ กิโลกรัม แบ่งให้วันละ ๓-๔ ครั้ง) จนกว่าอาการไข้ในครั้งนั้นจะหายขาด (ถ้าเกิดจากไข้หวัด อาจมีอาการไข้อยู่นาน ๒-๔ วัน) ส่วนเด็กที่เคยมีอาการชักจากไข้ชนิดไม่ซับซ้อนตั้งแต่ ๓ ครั้งขึ้นไป หรือมีอาการชักจากไข้ชนิดซับ-ซ้อนเพียงครั้งเดียว แพทย์อาจพิจารณาให้เด็กกินยากันชักอีกชนิดหนึ่ง ได้แก่ ฟีโนบาร์บิทาล (phenobarbital) กินก่อนนอนทุกคืน (ทั้งที่มีไข้และไม่มีไข้) ติดต่อกันนาน ๒ ปี หรือจนกว่าจะถึงอายุ ๕ ขวบเต็ม ยาชนิดนี้กินติดต่อกันนานๆ อาจมีผลข้างเคียง คือ เด็กซนผิดปกติ หรืออาจมีสติปัญญาอ่อนด้อยลงกว่าปกติได้ ดังนั้น แพทย์จะพิจารณาให้ยากันชักชนิดนี้กินต่อเนื่องกันนานๆ ก็แต่เฉพาะในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น
    • เด็กที่มีอาการชักจากไข้เป็นครั้งแรกในชีวิต แพทย์อาจพิจารณาทำการเจาะหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๑๘ เดือน หรือมีประวัติกินยาปฏิชีวนะในการเจ็บป่วยคราวนี้ก่อนมาพบแพทย์ ทั้งนี้เพื่อนำน้ำไขสันหลังไปพิสูจน์ให้แน่ใจว่าไม่ใช่เกิดจากโรคติดเชื้อ ของสมอง
การดูแลตนเอง : อาการชักถือว่าเป็นภาวะที่รุนแรง อาจมีสาเหตุจากโรคทางสมอง และโรคติดเชื้อร้ายแรงอื่นๆ ได้ ดังนั้น เมื่อพบเด็กมีอาการชักร่วมกับมีไข้ ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
  1. เป็นการชักครั้งแรกของผู้ป่วย อาจจำเป็นต้องให้แพทย์ทำการเจาะหลัง และตรวจพิเศษอื่นๆ
  2. มีประวัติถูกสุนัขหรือแมวกัดหรือข่วน
  3. มีบาดแผลอักเสบตามผิวหนังร่วมด้วย
  4. มีอาการปวดศีรษะรุนแรง อาเจียนรุนแรง ซึม แขนขาอ่อนแรง หรือไม่ค่อยรู้สึกตัว
  5. มีอาการชักนานเกิน ๑๐ นาที
  6. พบในเด็กอายุต่ำกว่า ๖ เดือน หรือมากกว่า ๕ ขวบ
  7. สงสัยว่าเป็นไข้จากโรคติดเชื้อรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ (มีอาการไข้สูง หายใจหอบ) หรือเป็นโรคที่ต้องการการวินิจฉัยจากแพทย์ หรือต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ (เช่น ทอนซิลอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ บิด เป็นต้น)
ในกรณีที่เคยมีอาการชักจากไข้สูงมาก่อน และเคยให้แพทย์ตรวจรักษา แพทย์อาจจ่ายยาลดไข้และยากันชักให้ไว้ประจำบ้าน เมื่อเด็กเริ่มมีอาการไข้ ให้รีบเช็ดตัว ให้ยาลดไข้ และยากันชักตามขนาดที่แพทย์แนะนำทันที
อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังกล่าวข้างต้นก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ต่อไป ขณะที่พบมีอาการชัก ให้ทำการปฐมพยาบาลโดยการถอดเสื้อผ้าเด็กออก แล้วรีบใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตัวให้ไข้ลดโดยเร็ว ไม่แนะนำให้ใช้ไม้กดลิ้น, ด้ามช้อน หรือดินสอ สอดไว้ในปากเด็กเพื่อป้องกันการกัดลิ้น ดังที่เคยแนะนำกันมาในสมัยก่อน เพราะนอกจากจะไม่ได้ประโยชน์แล้ว ยังอาจทำให้ปากและฟันเด็กได้รับบาดเจ็บได้
ขณะเด็กชักควรจับเด็กตะแคงข้างให้ศีรษะต่ำเพื่อป้องกันการสำลัก โดยทั่วไป อาการชักจากไข้จะเป็นอยู่เพียงไม่กี่นาที แต่ถ้าชักนานเกิน ๑๐ นาที ควรรีบพาไปโรงพยาบาล และถ้ามียากันชักชนิดสวนทวารซึ่งแพทย์ที่เคยรักษาอาจจ่ายให้ไว้ประจำบ้าน ก็ให้รีบทำการสวนทวารก่อนนำส่งโรงพยาบาล เพื่อป้องกันไม่ให้กลายเป็นอาการชักจากไข้ชนิดต่อเนื่อง
การป้องกัน
  1. หาทางป้องกันไม่ให้เป็นไข้บ่อย เช่น หลีกเลี่ยงการเข้าไปในที่แออัด กินอาหารที่สุกและสะอาด ฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ เป็นต้น
  2. เด็กที่เคยมีอาการชักจากไข้มาครั้งหนึ่งแล้ว ควรมียาลดไข้ (พาราเซตามอล) และยากันชักไดอะซีแพมไว้ประจำบ้าน และเริ่มกินยาทันทีเมื่อมีไข้เกิดขึ้นครั้งใหม่ พร้อมกับให้การปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง
  3. หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ในขณะที่เด็กมีไข้ เช่น แม่น้ำ, ที่สูงๆ เป็นต้น เนื่องจากหากเด็กเกิดมีไข้และมีอาการชักจะเกิดอันตรายได้

ยาที่เกี่ยวข้อง

ยาที่ใช้บ่อย diazepam

แหล่งอ้างอิง

  1. สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์. กุมารเวชปฏิบัติก้าวหน้า 3 : จากการรักษาสู่การสร้างเสริมสุขภาพ. โรงพิมพ์เม็ดทราย. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2544; 199-205.
  2. Behrman. Nelson textbook of pediatrics.17th edition 2007.

Tuesday, September 20, 2011

เงินเดือนน้อยพออยู่พอกิน เงินเดือนมากกลับเป็นหนี้สิน

มันแปลกแต่จริงสำหรับคนทำงานมานานๆ และมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน คนส่วนใหญ่มักมีหนี้สินเมื่อมีเงินเดือนมากขึ้น เงินไม่พอใช้จ่าย หรือ แม้นแต่การเป็นหนี้สินต่างๆ แต่ตอนที่มีเงินเดือนเพียงเล็กน้อยหรือในตำแหน่งที่ไม่สูงมากนัก กลับมีเงินเก็บ มีเงินพอที่จะใช้จ่าย แล้วอะไรหละที่ทำให้เกิดลักษณะเช่นนี้ขึ้น

ในช่วงเงินเดือนน้อย

อยู่อย่างพอเพียง คิดเสมอว่า เงินเดือนยังน้อยอยู่ไม่พอกิน ได้เงินเดือนมา ต้องคิดก่อนใช้ ไม่อย่างนั้นอยู่ไม่ถึงสิ้นเดือนแน่ๆ

ไม่มีตำแหน่งค้ำคอ ก็ไม่ต้องสร้างภาพ ใช้เสื้อผ้าเก่าๆก็ได้ เสื้อผ้าไม่ต้องมียี่ห้อก็ได้ เรื่องพวกนี้ทำให้เสียเงินมาก

ขอเจ้านายให้เลี้ยง เพื่อจะได้ลดค่าใช้จ่ายลงอีกนิด

ไม่เลี้ยงใครๆ แค่ตัวเองยังจะเอาตัวไม่รอดเลย ไปไหนก็ต้องแชร์กันจ่ายซิจ๊ะ

วันนี้จะกินอะไรดี...เน้นปริมาณให้อิ่มก่อน ถ้าได้คุณภาพก็ดี

ตอนที่มีเงินเดือนน้อยๆ ความต้องการของเราก็น้อย และ รู้จักการใช้เงินมาก ต้องประหยัด ไม่ต้องรักษาหน้าตาของเรา


ในช่วงเงินเดือนมาก

ความต้องการความมั่นคงมากขึ้น อยากได้บ้าน อยากได้รถ จึงต้องตกอยู่ในวังวนของหนี้สินเพื่อตอบสนองความต้องการ ซื้อบ้านต้องซื้อเงินผ่อน ถ้าจะซื้อสดคงแก่ก่อนแน่ๆ ดังนั้นจึงเป็นหนี้เพราะความต้องการทั้งนั้น

คิดแต่ว่า เงินเดือนเราเขาให้เครดิตเป็นแสนๆ เรามีเงินใช้ล่วงหน้าเป็นแสนๆเลยนะ ทำให้ติดกับดักใช้บัตรเครดิตรูด แล้วค่อยจ่าย ใช้เงินในอนาคต อยากได้อะไรก็วางแผนใช้เงินในอนาคตเอามา แล้ว ค่อยหาใหม่เอาเดือนหน้า ผลสรุปคือ ไม่เคยใช้เงินที่หามาได้ แต่จะใช้เงินที่คาดว่าจะหามาได้ เลยไม่มีเงินที่จะเก็บ

ความคาดหวังของลูกน้องมากขึ้น เพราะเนื่องจากเป็นหัวหน้า ก็ต้องเลี้ยงลูกน้อง บ้าง ไม่อย่างนั้นเสียฟอร์ม ลูกน้องไปกับเรา เราก็ต้องเลี้ยงซิ จะแชร์กันได้อย่างไร...ทำให้ต้องเสียเงินเพื่อให้ลูกน้องนับถือ

การรักษาหน้าตาของตนเอง ต้องใส่เสื้อที่มีราคา ดูดี มียี่ห้อ ต้องมีปากกาหรูๆ ต้องอยู่ในสถานที่ดูดี มีสไตล์ ไม่อย่างนั้นไม่ถือว่าเป็นผู้บริหาร ซึ่งก็ต้องใช้เงิน กับสิ่งของราคาแพงๆโดยไม่จำเป็น เสื้อก็ใส่ได้พอๆกัน แถมจะทิ้งหรือก็เสียดาย มันเก่าก็ใส่ไม่ได้ ลำบากทั้งใจ และ ต้องเสียเงินซื้อใหม่อยู่เรื่อยๆ

กินอะไรก็ต้องเลือกของดีๆไว้ก่อน เรื่องเงินค่อยมาว่ากัน กินเป็นเรื่องใหญ่ จ่ายเป็นเรื่องเล็ก ไม่มีเงินก็เข้าร้านหรูๆใช้บัตรเครดิตเอา เพราะคิดว่า สิ่งที่กินไปนั้นต้องเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย จนร่างกายอ้วนเอาอ้วนเอา

ความบันเทิงต้องมาก่อน เพราะเราทำงานหนัก ต้องพักผ่อน ต้องเที่ยวที่นั่น ที่นี่ ไม่อย่างนั้นเข้าสังคมไม่ได้ กินเหล้าเข้าสังคม ต้องเที่ยวผู้หญิงไม่อย่างนั้นจะรับแขกชาวต่างชาติไม่ได้ ค่านิยมผิดๆ ติดตัวกันมา...

ต้องเสียเงิน เสียเวลา กับสิ่งที่จะต้องสร้าง Connection ไม่อย่างนั้นจะเสียฟอร์ม ต้องเล่นกีฬาผู้บริหาร ไม่รู้ก็ต้องไปเรียนเสียเป็นหมื่นๆ ไม่เป็นไร อย่างน้อยเราก็จะได้กลับมา ลงทุนไปก่อนแต่ก็ไม่รู้ว่าจะถอนทุนอย่างไร...

ค่านิยมผิดๆของผู้บริหารบางคนยังมีอีกมากมาย และ ค่านิยมเหล่านี้ ก็มักจะถูกปลูกฝังจากผู้บริหารรุ่นเก่าก่อนที่เคยเป็นเช่นนี้มาเสมอๆ เพราะถ้าไม่ทำให้คุณสูญเสียเงินที่ได้มาคุณก็จะมีเงินสะสมไว้มาก มากพอที่จะทำธุรกิจของตนเอง แล้ว องค์กรก็จะสูญเสียทาสองค์กรไป ดังนั้น จึงต้องให้เงินเดือนเพิ่มเพื่อดึงดูดให้คุณทำงาน และ สร้างหนทางให้คุณใช้เงินเพื่อไม่ให้คุณสร้างอนาคตของตนเองได้ ถ้าคุณรู้ทันก็จะไม่ให้คุณขึ้นไปได้เงินเดือนเพิ่มอีก แล้วอ้างว่า คุณลักษณะของคุณไม่เหมาะกับผู้บริหาร คุณต้องอย่างนั้น คุณต้องอย่างนี้ สรุปคือ ไม่เป็นไปอย่างที่เจ้านายคุณต้องการ หรืออีกนัยคือ คุณมีพฤติกรรมที่แตกต่างจากพวกเขา...

สรุป.....

ในฐานะลูกจ้าง :- การใช้เงินอย่างพอประมาณ และ ใช้เงินให้เป็น หมายถึง การใช้เงินอย่างคุ้มค่า แบ่งจ่ายในสิ่งที่จำเป็น และ รู้ว่าอะไรคือกับดักในการดึงเงินออกจากกระเป๋าคุณ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องฝึก ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใด เพราะ เมื่อคุณสามารถควบคุมเงิน และ ใช้มันอย่างคุ้มค่าแล้ว คุณก็จะสามารถใช้เงินตอนที่คุณเป็นผู้บริหาร หรือ เจ้าของกิจการได้อย่างคุ้มค่า และ เป็นไปตามความต้องการอย่างพอเพียงครับ