Wednesday, May 30, 2012

บทเรียน 3 - คุณชื่ออะไร?

ประโยคสนทนา

ชื่อ:
ประโยค (Link)


จอห์น
John :
ขอโทษครับ คุณชื่ออะไร
Excuse me, what's your name?


เจสซิกา
Jessica :
ฉันชื่อเจสสิกาค่ะ แล้วคุณล่ะค่ะ
My name is Jessica. What's yours?


จอห์น
John :
จอห์นครับ
John.


เจสซิกา
Jessica :
คุณพูดภาษาอีงกฤษได้ดีมาก
You speak English very well.


จอห์น
John :
ขอบคุณ
Thank you.


เจสซิกา
Jessica :
คุณรู้หรือปล่าวว่าตอนนี้กี่โมงแล้ว
Do you know what time it is?


จอห์น
John :
แน่นอน. มันเป็นเวลา 5 โมง10 นาที ในตอนเย็น
Sure. It's 5:10PM.


เจสซิกา
Jessica :
คุณว่าอะไรน่ะ
What did you say?


จอห์น
John :
ฉันพูดว่า มันเป็นเวลา 5 โมง10 นาที ในตอนเย็น
I said it's 5:10PM.


เจสซิกา
Jessica :
ขอบคุณ.
Thanks.


จอห์น
John :
ไม่เป็นไร.
You're welcome.


Tuesday, May 22, 2012

บทเรียน 2 - คุณพูดภาษาอังกฤษได้ไหม?

ประโยคสนทนา  Link


ชื่อ:
ไทย/ภาษาอังกฤษ


แมรี่
Mary :
ขอโทษค่ะ คุณเป็นคนอเมริกันหรือปล่าวค่ะ?
Excuse me, are you American?


โรเบิร์ต
Robert :
ไม่ครับ ผมไม่ใช่คนอเมริกัน ผมเป็นคนจีน
No.


แมรี่
Mary :
คุณพูดภาษาอีงกฤษได้หรือปล่าว
Do you speak English?


โรเบิร์ต
Robert :
พูดได้นิดหน่อย แต่ไม่ค่อยดีนัก
A little, but not very well.


แมรี่
Mary :
คุณอยู่ที่นี่นานเท่าไหร่แล้ว
How long have you been here?


โรเบิร์ต
Robert :
2 เดือน
2 months.


แมรี่
Mary :
คุณทำงานอะไร
What do you do for work?


โรเบิร์ต
Robert :
ผมเป็นนักศึกษา แล้วคุณล่ะ
I'm a student. How about you?


แมรี่
Mary :
ฉันก็เป็นนักศึกษาเหมือนกัน
I'm a student too.

บทเรียน 1 - คุณ มาจากที่ไหน?

ประโยคสนทนา  Link

ชื่อ:
ไทย/ภาษาอังกฤษ


เจมส์
James :
สวัสดีครับ
Hello.
ลิซา
Lisa :
สวัสดีค่ะ
Hi.
เจมส์
James :
สบายดีหรือปล่าวครับ
How are you?
ลิซา
Lisa :
สบายดีค่ะ แล้วคุณล่ะ
I'm good. How are you?
เจมส์
James :
สบายดีครับ คุณพูดภาษาอังกฤษได้หรือปล่าว
Good. Do you speak English?
ลิซา
Lisa :
พูดได้นิดหน่อยค่ะ คุณเป็นคนอเมริกันหรือค่ะ?
A little. Are you American?
เจมส์
James :
ใช่ครับ คุณเป็นคนจีนหรือครับ
Yes.
ลิซา
Lisa :
ใช่ค่ะ คุณมาจากที่ไหนหรือค่ะ
Where are you from?
เจมส์
James :
ผมมาจากแคลิฟอร์เนีย
I'm from California.
ลิซา
Lisa :
ดีใจที่ได้รู้จักค่ะ
Nice to meet you.
เจมส์
James :
ดีใจที่ได้รู้จักเช่นกันครับ
Nice to meet you too.

Friday, May 11, 2012

นวัตกรรมใหม่...ทำปุ๋ยอินทรีย์โดยไม่ต้องพลิกกลับกอง



คณะวิศวกรรมและ อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีนวัตกรรมใหม่ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ ไม่ต้องมีการเติมอากาศและไม่ต้องมีการพลิกกลับกอง อีกด้วย เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดีที่มีค่าตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ให้ เสร็จภายในเวลาเพียง 30 วัน ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” ที่ไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีกลิ่นและน้ำเสีย ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จะเบา นุ่ม และไม่มีกลิ่น

ต่อไปนี้เป็นคำบอกเล่าของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร ผู้อำนวยการสถานบริการวิชาการ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร

การ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธี “วิศวกรรม แม่โจ้ 1” นี้มีหลักการทำงานที่ง่ายมาก วัตถุดิบมีเพียงเศษพืชและมูลสัตว์เท่านั้น วิธีการทำก็คือ นำเศษพืช 3 ส่วนกับมูลสัตว์ 1 ส่วน โดยปริมาตรมาผสมคลุกเคล้าให้ทั่วถึงรดน้ำให้มีความชื้น แล้วขึ้นกองเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีความสูงไม่ต่ำกว่า 1.50 เมตร มีความยาวของกองไม่จำกัดขึ้นอยู่กับปริมาณเศษพืชและมูลสัตว์ที่มี

กอง ปุ๋ยที่สูง 1.5 เมตร จะทำให้สามารถเก็บกักความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาการย่อยสลายของจุลินทรีย์ เอาไว้ในกองปุ๋ย ซึ่งความร้อนนี้นอกจากจะเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับ จุลินทรีย์ชนิดชอบความร้อนสูงที่มีในมูลสัตว์แล้ว เมื่อความร้อนนี้ลอยตัวขึ้นจะทำให้ภายในกองปุ๋ยเกิดเป็นสุญญากาศแล้วจะ ชักนำเอาอากาศภายนอกที่เย็นกว่าไหลเข้าไปภายในกองปุ๋ย อากาศภายนอกที่ไหลหมุนเวียนเข้ากองปุ๋ยนี้ช่วยทำให้เกิดสภาวะการย่อยสลายของ จุลินทรีย์แบบใช้อากาศที่ไม่ทำให้เกิดกลิ่นหรือน้ำเสียใด ๆ

“...หัวใจ สำคัญของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีนี้ คือ ต้องรักษาความชื้นภายในกองปุ๋ยให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอตลอดทั้ง 30 วัน หากกองปุ๋ยแห้งเกินไปกิจกรรมการย่อยสลายของจุลินทรีย์จะหยุดชะงักลง และหากกองปุ๋ยเปียกโชกมากเกินไปจุลินทรีย์ก็จะชะงักกิจกรรมอีก เนื่องจากน้ำที่ห่อหุ้มล้อมรอบจุลินทรีย์จะทำให้อากาศไม่สามารถเข้าถึง จุลินทรีย์ได้...”

วิธีการดูแล ความชื้นของกองปุ๋ยให้เหมาะสมมี 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่หนึ่ง ให้รดน้ำภายนอกกองปุ๋ยทุกเช้า (ถ้าฝนตกก็ให้งดขั้นตอนนี้) และ ขั้นตอนที่สอง ให้คอยตรวจสอบความชื้นภายในกองปุ๋ยโดยการล้วงมือเข้าไปจับดูเนื้อปุ๋ยดู ถ้าพบว่าวัสดุเริ่มแห้งก็ให้ใช้ ไม้แทงกองปุ๋ยให้เป็นรูลึกถึงข้างล่างแล้วกรอกน้ำลงไป ควรแทงรูและเติมน้ำเช่นนี้รอบกองปุ๋ยระยะห่างกันประมาณ 40 เซนติเมตร ซึ่งอาจต้องทำขั้นตอนที่สองนี้ทุก 7-10 วันถ้าจำเป็น เมื่อเติมน้ำเสร็จแล้วให้ปิดรูไว้เสียเพื่อไม่ให้สูญเสียความร้อนภายในกอง ปุ๋ย


การ เติมความชื้นเข้าไปในกองปุ๋ยขั้น ตอนที่สองนี้แม้ว่าอยู่ในช่วงของฤดูฝนก็ยังต้องมี การเติมน้ำเข้าไปในกองปุ๋ย ทั้งนี้เพราะน้ำฝน ไม่สามารถไหลซึมเข้าไปในกองปุ๋ยได้ ซึ่งเป็น คุณสมบัติเฉพาะของปุ๋ยอินทรีย์ที่จะอุ้มน้ำและ ไม่ยอมให้น้ำส่วนเกินไหลซึมลงไปด้วยแรงโน้ม ถ่วงของโลก จึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคการแทง กองปุ๋ยดังกล่าวเพื่อรักษาระดับความชื้นภายใน กองปุ๋ยให้เหมาะสมอยู่เสมอ ดังนั้น จึงอาจ กล่าวได้ว่าเกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ด้วยวิธี “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” นี้ในฤดูฝนได้ด้วย เพราะฝนไม่สามารถชะล้างเข้าไปในกองปุ๋ยได้

เศษ พืชที่เกษตรกรสามารถนำมาใช้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีนี้ได้แก่ เศษพืชที่เหลือจากการเกษตรกรรมทุกชนิด เช่น ฟางข้าว ซังและเปลือกข้าวโพด เป็นต้น รวมทั้งผักตบชวา เศษผักจากตลาด และเศษใบไม้ทั้งแห้งและสด ส่วนมูลสัตว์สามารถนำมาใช้ได้ทั้งมูลโค มูลไก่ มูลช้าง และมูลสุกร โดยไม่มีผลต่อคุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้

หลัง จากที่วัตถุดิบอยู่ในกองปุ๋ยแบบ “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” ได้ครบ 30 วัน ก็จะมีความสูงเหลือเพียง 1 เมตร โดยไม่มีการพลิก กลับกองหรือเติมอากาศใด ๆ ทั้งสิ้น หลังจากนั้นกองทิ้งไว้เฉย ๆ ให้แห้ง หรือนำไปเกลี่ยผึ่งแดดให้แห้งอีกประมาณ 7 วันเพื่อให้จุลินทรีย์ในกองปุ๋ยสงบตัว เมื่อแห้งดีแล้วก็สามารถนำ ไปใช้ได้อย่างมั่นใจว่าจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยจะไม่ไปรบกวนการเจริญเติบโตของ ต้นพืช

ม.แม่โจ้มีฐานเรียนรู้ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” สำหรับให้ผู้ที่สนใจเข้าชมการสาธิตได้ทุกวันเวลาราชการ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ติดต่อได้ที่ ผศ.ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร โทร. 0-5387-5563.




- ขอบคุณ ข้อมูลจาก คุณชาวนา เวบซ์ เกษตรพอเพียง.คอม


ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธี “วิศวกรรมแม่โจ้ 1”

1.นำเศษข้าวโพดหรือฟางข้าว 4 ส่วนกับมูลสัตว์ 1 ส่วนโดยปริมาตร (ถ้าเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเป็นใบไม้ให้ใช้อัตราส่วนใบไม้ 3 ส่วนกับมูลสัตว์ 1 ส่วนโดยปริมาตร) มาวางเป็นชั้น ๆ จำนวน 15 - 17 ชั้น รดน้ำแต่ละชั้นให้มีความชื้น ขึ้นกองเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีความสูงไม่ต่ำกว่า 1.50 เมตร ฐานกว้าง 2.5 เมตร ส่วนความยาวของกองจะยาวเท่าไรก็ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณเศษวัสดุเหลือทิ้งทาง การเกษตรและมูลสัตว์ที่มี ความสำคัญของการที่ต้องทำเป็นชั้นบาง ๆ 15 - 17 ชั้นก็เพื่อให้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในมูลสัตว์ได้ใช้ทั้งธาตุคาร์บอน (มีอยู่ในเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร) และธาตุไนโตรเจน (มีในมูลสัตว์) ในการเจริญเติบโตและสร้างเซลล์ของจุลินทรีย์ ซึ่งจะทำให้การย่อยสลายวัตถุดิบเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว




นำเศษข้าวโพดหรือฟางข้าว 4 ส่วนกับมูลสัตว์ 1 ส่วนโดยปริมาตร มาวางเป็นชั้นบาง ๆ จำนวน 15 - 17 ชั้น รดน้ำแต่ละชั้น ขึ้นกองเป็นรูปสามเหลี่ยมสูง 1.50 เมตร ฐานกว้าง 2.5 เมตร ส่วนความยาวของกองจะยาวเท่าไรก็ได้



2. รักษาความชื้นภายในกองปุ๋ยให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอตลอดเวลา มีค่าประมาณร้อยละ 60 - 70 โดยมี 2 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 รดน้ำภายนอกกองปุ๋ยทุกเช้า (ถ้าฝนตกก็ให้งดขั้นตอนนี้)

ขั้นตอนที่ 2 ใช้ไม้แทงกองปุ๋ยให้เป็นรูลึกถึงข้างล่างแล้วกรอกน้ำลงไป ระยะห่างของรูประมาณ 40 เซนติเมตร ทำขั้นตอนที่สองนี้ 5 ครั้ง ระยะเวลาห่างกัน 10 วัน เมื่อเติมน้ำเสร็จแล้วให้ปิดรูเพื่อไม่ให้สูญเสียความร้อนภายในกองปุ๋ย ขั้นตอนที่สองนี้แม้ว่าอยู่ในช่วงของฤดูฝนก็ยังต้องทำ เพราะน้ำฝนไม่สามารถไหลซึมเข้าไปในกองปุ๋ยได้ การที่ฝนไม่สามารถชะล้างเข้าไปในกองปุ๋ยได้เกษตรกรจึงสามารถผลิตปุ๋ย อินทรีย์ด้วยวิธีนี้ในฤดูฝนได้ด้วย

ภายในเวลา 5 วันแรก กองปุ๋ยจะมีค่าอุณหภูมิสูงขึ้นมาก บางครั้งสูงถึง 70 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับกองปุ๋ยที่ทำได้ถูกวิธี ความร้อนสูงนี้เกิดจากกิจกรรมการย่อยสลายของจุลินทรีย์ (จุลินทรีย์มีมากมายและหลากหลายในมูลสัตว์อยู่แล้ว) และความร้อนสูงนี้ยังเป็นสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมกับการทำงานของจุลินทรีย์ใน กองปุ๋ยอีกด้วย หลังจากนั้นอุณหภูมิจะค่อย ๆ ลดลงจนมีค่าอุณหภูมิปกติที่อายุ 60 วัน







3. เมื่อกองปุ๋ยมีอายุครบ 60 วัน กองปุ๋ยจะมีความสูงเหลือเพียง 1 เมตร ก็หยุดให้ความชื้น แล้วทำปุ๋ยอินทรีย์ให้แห้งเพื่อให้จุลินทรีย์สงบตัวและไม่ให้เป็นอันตรายต่อ รากพืช วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์ให้แห้งอาจทำโดยทิ้งไว้ในกองเฉยๆ ประมาณ 1 เดือน หรืออาจแผ่กระจายให้มีความหนาประมาณ 20 – 30 ซม. ซึ่งจะแห้งภายในเวลา 3 – 4 วัน สำหรับผู้ที่ต้องการจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ก็อาจนำปุ๋ยอินทรีย์ที่แห้งแล้วไปตี ป่นให้มีขนาดเล็กสม่ำเสมอ ซึ่งจะมีราคาประมาณกิโลกรัมละ 5-7 บาท

กองปุ๋ยที่สูง 1.5 เมตรจะสามารถเก็บกักความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาการย่อยสลายของจุลินทรีย์ เอาไว้ในกองปุ๋ย ความร้อนนี้นอกจากจะเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับจุลินทรีย์ชนิดชอบความร้อน สูงที่มีในมูลสัตว์แล้ว เมื่อความร้อนนี้ลอยตัวสูงขึ้นจะทำให้อากาศภายนอกที่เย็นกว่าไหลเข้าไปในภาย ในกองปุ๋ย (เกิดจากการพาความร้อนแบบปล่องไฟหรือ Chimney Convection) อากาศภายนอกที่ไหลหมุนเวียนเข้ากองปุ๋ยนี้ช่วยทำให้เกิดสภาวะการย่อยสลายของ จุลินทรีย์แบบใช้อากาศ ทำให้กองปุ๋ยไม่มีกลิ่นหรือน้ำเสียใด ๆ