Wednesday, July 18, 2012

นักวางเพลิงเวลา





          เช้าวันนั้น เหมือนทุกๆ วัน ที่ผมตื่นนอนแบบเพลียๆ เวลา 06.30 น.

ตามปกติของคนทำงานทุกวัน และสะลึมสะลือเดินเข้าห้องน้ำ ไม่ได้คิดอะไร  

ไม่ได้ฟุ้งซ่านอะไร  แต่ทำไมตอนปลดทุกข์  นอกจากความง่วง  การปลดปล่อยทำให้ได้มาซึ่ง

ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล   ไม่รู้พรั่งพรูมาจากไหน  เรียกได้ว่า  เป็นช่วงเวลาแห่งความคิดสร้างสรรค์

เข้าอกเข้าใจชีวิต กันเลยทีเดียว

           ขอเรียกความคิดวันนี้ว่า  " นักวางเพลิงเวลา" 

แน่นอนที่สุดว่าเราทุกคนรู้ว่า
                         
                      วันหนึ่งมี 24 ชม.    
                                                        อาทิตย์หนึ่งมี 7 วัน
            เดือนหนึ่งมี 30 วัน
                                                ปีหนึ่งมี 365 วัน            
                                    
                              ชีวิตหนึ่งมี    ...........  วัน

สมมุติ    ว่ามีอายุได้มากสุด 60 ปี ก็ได้ เอาง่าย ๆ

                                    60 x 365  เท่ากับ  21,900  วัน   อันนี้โดยประมาณ

           เราใช้เวลาเท่ากันในแต่ละวัน  เท่ากัน คือวันต่อวัน

เวลาแต่ละวันผ่านไปเร็วเท่าไหร่  คำตอบคือ  เท่ากับที่มันจะเดินได้นั่นแหละ ( กวนไปมั้ย ?)

ขึ้นอยู่กับสถานะการณ์ และอารมณ์ อะไรขณะนั้น  แต่มันก็ไม่ได้มากกว่า 24 ชม. มันก็เท่ากันทุกวัน

            รู้สึกตลกตัวเอง  ขึ้นมาทันทีทันได  เรานี่ชอบเผาเวลา จะทำอะไรต้องมีอืดอาด ลีลา กันบ้าง

เป็นนักวางเพลิงเวลา โดยแท้  แต่อีก ซีกหนึ่งของความคิด ที่ยังมีความต้องการ

                                                           เราเผาเวลาไปเพื่อ

                  ความสุขของเราเอง

                                                                ความพอใจของเราเอง

                                   ความสบายของเราเอง

                                                                                                           ความต้องการของเราเอง


                                                       หรือว่า

                             ความเบื่อหน่ายของงาน

                                                                                                 ความควาดหวังจากภายนอก
              ความอ่อนล้าของร่างกาย

                                                                     ความไม่สมบูรณ์แบบแห่งการกระทำนั้น

                      จนกว่าเวลาจะหมด    หมดเมื่อไหร่ ไม่มีใครรู้      แต่แน่นอนมันมีขีดจำกัด

มีขนาดวัดได้   กำหนดไม่ได้

สร้างสรรค์ได้   สร้างใหม่ไม่ได้

เดินไปข้างหน้าได้   ย้อนหลังไม่ได้

ระบุเวลาได้    เคลื่อนย้ายไม่ได้

มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้    แต่เผาได้                  

                                               นี่แหล่ะ  มันคือเวลาของผม เวลาของเรา เวลาของทุกคน

              ได้แต่หวังว่า  ชีวิตนี้จะไม่ได้เป็นปกปักษ์ กับใคร      กับช่วงเวลาน้อยนิด ที่พึ่งแสวงหา

ความสุขนี้  ขอมีความสุขด้วยตัวเอง  แม้จะเป็นคนที่ตัวเองเรียกว่า  คนวางเพลิงเวลา   ก็ตาม


                                                                   สวัสดี..............................

Thursday, July 5, 2012

สูตรทำแกงเลียง

แกงเลียง เป็นอาหารที่มีรสชาติเฉพาะตัว อร่อยเผ็ดร้อนด้วยพริกไทย หอมกลิ่นสมุนไพรจากพืชผักหลากหลายชนิด มีประโยชน์ในการขับพิษ ไข้เป็นอย่างดี





แกงเลียง เป็นแกงที่ประกอบด้วยน้ำพริก ผัก เนื้อสัตว์ น้ำแกงและเครื่องปรุงรส น้ำพริกแกงเลียงจะแปลกกว่าน้ำพริกแกงชนิดอื่นๆ เพราะมีพริกไทย หัวหอม กะปิ กุ้งแห้ง ปลาย่างหรือปลากรอบ น้ำแกงมีลักษณะข้น ผักที่นิยมใส่ที่สามารถบอกลักษณะว่าเป็น “แกงเลียง” คือ ใบแมงลักมี กลิ่นหอม่ารับประทาน นอกจากนั้นยังมีผักเช่น ตำลึง ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน หัวปลี บวบ ผักหวาน ฯลฯ เนื้อสัตว์ ได้แก่ กุ้งสด เนื้อไก่ ฯลฯ ปรุงรสด้วยน้ำปลาหรือเกลือ
แกงเลียง

ส่วนผสม แกงเลียง


    บวบเหลี่ยม ประมาณ 1 ลูก ขนาดพอดีปอกเปลือกออกจนเกลี้ยงเกลา ให้เหลือเปลือกไว้บ้าง เพื่อรักษาคุณค่าทางอาหาร หั่นเป็นชิ้นขนาด 12 – 15 ชิ้น
    ฟักทอง หันชิ้นพอคำ จำนวน 10 – 12 ชิ้น
    กระชาย 2 หัว ทุบเบาๆแล้วหั่นเป็นท่อนยาวประมาณ 1 นิ้ว
    ยอดตำลึง 10 ยอดเด็ดเอาแต่ใบอ่อนๆ
    ข้าวโพดอ่อนหั่นแฉลบ 4 ฝัก
    ถ้าชอบเผ็ด ใส่พริกขี้หนูสด 5 – 6 เม็ด บุบพอแตก
    ใบแมงลัก 3 – 4 กิ่ง เด็ดเอาแต่ใบหรือยอดดอกอ่อนๆ
    กุ้งแม่น้ำหรือกุ้งชีแฮ้หรือกุ้งก้ามกราม 6 – 7 ตัว ปอกเปลือกเอาเส้นดำออก
    น้ำซุป(จากการต้มซี่โครงหมูหรือโครงไก่) หรือไม่มีก็น้ำเปล่า 4 ถ้วยตวง
    น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ

เครื่องแกง แกงเลียง

    กระชาย 4 หัว
    พริกชี้ฟ้าแดงผ่าเอาเมล็ดออก 2 เม็ด
    พริกไทยขาว 12 เม็ด
    หอมแดงหัวขนาดกลาง 5 หัว
    กุ้งแห้ง 2 ขีดครึ่ง

วิธีทำ แกงเลียง

    โขลกเครื่องแกงให้ละเอียด ถ้าชอบให้น้ำแกงข้น ให้ใช้เนื้อปลา จะย่างหรือต้มสุกก็ได้แล้วนำมาโขลกรวมกับเครื่องแกง
    นำน้ำซุปหรือน้ำเปล่าตั้งไฟพอเดือด ใส่เครื่องแกงลงไป ปรุงรสด้วยน้ำปลา ชิมให้ได้รสเค็มและเผ็ดนิดๆ พอน้ำแกงเดือดอีกที ใส่ผักชนิดที่สุกยากลงก่อน คือ ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน ตามด้วยกุ้ง รอจนแน่ใจว่าผักสุกดีแล้ว จึงใส่ใบตำลึง
    และสุดท้ายใส่ใบแมงลักแล้วคนให้เข้ากัน

เคล็ดลับในการปรุง แกงเลียง

ตั้งน้ำให้เดือดใส่เครื่องแกงแล้วปรุงรสก่อน รอให้น้ำแกงเดือดอีกรอบจึงใส่ผัก

Wednesday, June 13, 2012

นิทานคติธรรมสอนใจ: กบผู้ไม่ยอมแพ้


กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
มีกบหลายตัวตกลงไปในบ่อลึกที่ชาวบ้านขุดไว้ดักสัตว์
.
พวกมันพากันกระโดดเพื่อพยายามขึ้นมาจากบ่อนั้นให้ได้
แต่สำหรับพวกมันแล้วบ่อแห่งนั้นมันลึกมาก
.
ดังนั้นจึงยังไม่เคยมีกบตัวใดสามารถขึ้นมาได้
พวกเพื่อนๆของมันที่อยู่ด้านบนต่างก็มาเฝ้าดูที่ขอบบ่อ
แรกๆเพื่อนๆของมันก็ต่างตะโกนเชียร์เสียดังระงมไปทั่ว
แต่ก็ยังไม่มีกบตัวใด กระโดดขึ้นมาได้สำเร็จ
.
เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้าเสียงเชียร์ก็เริ่มเงียบหายไป
แล้วเปลี่ยนเป็นเสียงที่บอกว่า
.
หยุดเถิดเพื่อนเอ๋ยถึงพวกเจ้าจะกระโดดต่อไปก็คงจะไร้ความหมาย
เพราะบ่อแห่งนี้ลึกเกินไปกว่าที่จะกระโดดขึ้นมาได้ พวกเจ้าควรเก็บแรงเอาไว้จะดีกว่า…”
.
กบที่อยู่ข้างล่างจึงเริ่มละความพยายามที่จะกระโดดขึ้นไป
ทีละตัวทีละตัว
จนในที่สุดก็เหลือ กบเพียงตัวเดียว ที่ยังคงตั้งหน้าตั้งตากระโดดต่อไป
โดยไม่ฟังเสียงเพื่อนของมันทั้งที่อยู่ด้านบน และที่อยู่ล่างด้วยกัน
ที่ต่างก็พยายามร้องบอกให้มันหยุดกระโดดได้แล้ว
.
แต่มันก็ยังไม่ยอมหยุดกระโดด
เพื่อนๆของมันต่างพากันหัวเราะอย่างขบขันแล้วกล่าวว่า
.
กบตัวนี้คงจะบ้าไปแล้วกระโดดให้เสียแรงไปเปล่าๆ
บ่อแห่งนี้ลึกเกินไปคงไม่มีใครกระโดดขึ้นไปได้หรอก
.
กาลเวลาผ่านไปปาฏิหาริย์ก็เกิดขึ้น
กบตัวดังกล่าว สามารถกระโดดขึ้นมาจากบ่อได้สำเร็จ
.
เพื่อนๆที่อยู่ด้านบนต่างก็รู้สึกแปลกใจ
และพากันมาแสดงความยินดี พร้อมกับถามว่า
ทำไมเจ้าจึงยังคงกระโดดต่อจนสำเร็จล่ะ?
ทั้งๆที่กบตัวอื่นๆต่างหยุดและยอมแพ้ไปหมดแล้ว
.
กบตัวเก่งตัวนั้นหันมายิ้ม แล้วแสดงท่าทางเพื่อบอกว่า
พวกมึงถามอะไร. กูไม่เข้าใจกูหูหนวก
…………………………………………………………………………………………………………………….
อุปสรรคที่น่ากลัวที่สุดที่ทำให้คนส่วนใหญ่ยอมพ่ายแพ้ ก็คือคำพูดของคนอื่น
คำพูดที่บอกให้เรา ยอมแพ้
คำพูดที่บอกให้เรา หยุด
คำพูดที่บอกว่า เราทำไม่ได้
คำพูดที่บอกกับเราว่า มันเป็นไปไม่ได้
.
ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่ได้ฟังคำพูดเหล่านี้
ก็มักจะเชื่อถือ และทำตามคำพูดนั้นๆ
พวกเขาจึง หยุดคิด หยุดฝัน หยุดความปรารถนาของตัวเอง
แล้วปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามยถากรรม
รอคอยโอกาสดีๆที่ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นมาเมื่อไหร่
.
ดังนั้น หากเราปรารถนาความสำเร็จแล้ว
เราคงต้องทำเหมือนเป็น กบหูหนวกตัวนี้บ้างแล้วนะครับ

คาถา มหาเศรษฐี (แบบฉบับพอเพียง)

      นับตั้งแต่เกิดจนโตมาเป็นหนุ่มเอาะ ๆ จนถึงทุกวันนี้  อยู่ใต้ร่มพระบารมีขององค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ไม่ว่าจะไปแห่งหนใด พระบารมีแผ่ปกครุมไพศาล ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

       ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมนำเอาเศรษฐกิจแบบพอเพียง มาใช้ในชีวิต เพื่อความยั่งยืน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

" อย่านอนตื่นสาย         อย่าอายทำกิน
อย่าหมิ่นเงินน้อย           อย่าคอยวาสนา
อย่าเสวนาคนชั่ว            อย่ามั่วอบายมุข
อย่าสุขก่อนห่าม             อย่าพร่ามก่อนทำ
อย่ารำก่อนเพลง            อย่าข่มเหงผู้อื่น
อย่าฝ่าฝืนกฎระเบียบ   อย่าเอาเปรียบสังคม
อย่าชื่นชมคนผิด          อย่าคิดเอาแต่ได้
อย่าใส่ร้ายคนดี             อย่ากล่าววจีมุสา
อย่านินทาพระเจ้า         อย่าขลาดเขลาเมื่อมีทุกข์
อย่าสุขจนลืมตัว            อย่าเกรงกลัวงานหนัก
อย่าพิทักษ์พาลชน       อย่าลืมตนเมื่อมั่งมี "



Wednesday, May 30, 2012

บทเรียน 3 - คุณชื่ออะไร?

ประโยคสนทนา

ชื่อ:
ประโยค (Link)


จอห์น
John :
ขอโทษครับ คุณชื่ออะไร
Excuse me, what's your name?


เจสซิกา
Jessica :
ฉันชื่อเจสสิกาค่ะ แล้วคุณล่ะค่ะ
My name is Jessica. What's yours?


จอห์น
John :
จอห์นครับ
John.


เจสซิกา
Jessica :
คุณพูดภาษาอีงกฤษได้ดีมาก
You speak English very well.


จอห์น
John :
ขอบคุณ
Thank you.


เจสซิกา
Jessica :
คุณรู้หรือปล่าวว่าตอนนี้กี่โมงแล้ว
Do you know what time it is?


จอห์น
John :
แน่นอน. มันเป็นเวลา 5 โมง10 นาที ในตอนเย็น
Sure. It's 5:10PM.


เจสซิกา
Jessica :
คุณว่าอะไรน่ะ
What did you say?


จอห์น
John :
ฉันพูดว่า มันเป็นเวลา 5 โมง10 นาที ในตอนเย็น
I said it's 5:10PM.


เจสซิกา
Jessica :
ขอบคุณ.
Thanks.


จอห์น
John :
ไม่เป็นไร.
You're welcome.


Tuesday, May 22, 2012

บทเรียน 2 - คุณพูดภาษาอังกฤษได้ไหม?

ประโยคสนทนา  Link


ชื่อ:
ไทย/ภาษาอังกฤษ


แมรี่
Mary :
ขอโทษค่ะ คุณเป็นคนอเมริกันหรือปล่าวค่ะ?
Excuse me, are you American?


โรเบิร์ต
Robert :
ไม่ครับ ผมไม่ใช่คนอเมริกัน ผมเป็นคนจีน
No.


แมรี่
Mary :
คุณพูดภาษาอีงกฤษได้หรือปล่าว
Do you speak English?


โรเบิร์ต
Robert :
พูดได้นิดหน่อย แต่ไม่ค่อยดีนัก
A little, but not very well.


แมรี่
Mary :
คุณอยู่ที่นี่นานเท่าไหร่แล้ว
How long have you been here?


โรเบิร์ต
Robert :
2 เดือน
2 months.


แมรี่
Mary :
คุณทำงานอะไร
What do you do for work?


โรเบิร์ต
Robert :
ผมเป็นนักศึกษา แล้วคุณล่ะ
I'm a student. How about you?


แมรี่
Mary :
ฉันก็เป็นนักศึกษาเหมือนกัน
I'm a student too.

บทเรียน 1 - คุณ มาจากที่ไหน?

ประโยคสนทนา  Link

ชื่อ:
ไทย/ภาษาอังกฤษ


เจมส์
James :
สวัสดีครับ
Hello.
ลิซา
Lisa :
สวัสดีค่ะ
Hi.
เจมส์
James :
สบายดีหรือปล่าวครับ
How are you?
ลิซา
Lisa :
สบายดีค่ะ แล้วคุณล่ะ
I'm good. How are you?
เจมส์
James :
สบายดีครับ คุณพูดภาษาอังกฤษได้หรือปล่าว
Good. Do you speak English?
ลิซา
Lisa :
พูดได้นิดหน่อยค่ะ คุณเป็นคนอเมริกันหรือค่ะ?
A little. Are you American?
เจมส์
James :
ใช่ครับ คุณเป็นคนจีนหรือครับ
Yes.
ลิซา
Lisa :
ใช่ค่ะ คุณมาจากที่ไหนหรือค่ะ
Where are you from?
เจมส์
James :
ผมมาจากแคลิฟอร์เนีย
I'm from California.
ลิซา
Lisa :
ดีใจที่ได้รู้จักค่ะ
Nice to meet you.
เจมส์
James :
ดีใจที่ได้รู้จักเช่นกันครับ
Nice to meet you too.

Friday, May 11, 2012

นวัตกรรมใหม่...ทำปุ๋ยอินทรีย์โดยไม่ต้องพลิกกลับกอง



คณะวิศวกรรมและ อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีนวัตกรรมใหม่ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ ไม่ต้องมีการเติมอากาศและไม่ต้องมีการพลิกกลับกอง อีกด้วย เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดีที่มีค่าตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ให้ เสร็จภายในเวลาเพียง 30 วัน ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” ที่ไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีกลิ่นและน้ำเสีย ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จะเบา นุ่ม และไม่มีกลิ่น

ต่อไปนี้เป็นคำบอกเล่าของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร ผู้อำนวยการสถานบริการวิชาการ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร

การ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธี “วิศวกรรม แม่โจ้ 1” นี้มีหลักการทำงานที่ง่ายมาก วัตถุดิบมีเพียงเศษพืชและมูลสัตว์เท่านั้น วิธีการทำก็คือ นำเศษพืช 3 ส่วนกับมูลสัตว์ 1 ส่วน โดยปริมาตรมาผสมคลุกเคล้าให้ทั่วถึงรดน้ำให้มีความชื้น แล้วขึ้นกองเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีความสูงไม่ต่ำกว่า 1.50 เมตร มีความยาวของกองไม่จำกัดขึ้นอยู่กับปริมาณเศษพืชและมูลสัตว์ที่มี

กอง ปุ๋ยที่สูง 1.5 เมตร จะทำให้สามารถเก็บกักความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาการย่อยสลายของจุลินทรีย์ เอาไว้ในกองปุ๋ย ซึ่งความร้อนนี้นอกจากจะเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับ จุลินทรีย์ชนิดชอบความร้อนสูงที่มีในมูลสัตว์แล้ว เมื่อความร้อนนี้ลอยตัวขึ้นจะทำให้ภายในกองปุ๋ยเกิดเป็นสุญญากาศแล้วจะ ชักนำเอาอากาศภายนอกที่เย็นกว่าไหลเข้าไปภายในกองปุ๋ย อากาศภายนอกที่ไหลหมุนเวียนเข้ากองปุ๋ยนี้ช่วยทำให้เกิดสภาวะการย่อยสลายของ จุลินทรีย์แบบใช้อากาศที่ไม่ทำให้เกิดกลิ่นหรือน้ำเสียใด ๆ

“...หัวใจ สำคัญของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีนี้ คือ ต้องรักษาความชื้นภายในกองปุ๋ยให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอตลอดทั้ง 30 วัน หากกองปุ๋ยแห้งเกินไปกิจกรรมการย่อยสลายของจุลินทรีย์จะหยุดชะงักลง และหากกองปุ๋ยเปียกโชกมากเกินไปจุลินทรีย์ก็จะชะงักกิจกรรมอีก เนื่องจากน้ำที่ห่อหุ้มล้อมรอบจุลินทรีย์จะทำให้อากาศไม่สามารถเข้าถึง จุลินทรีย์ได้...”

วิธีการดูแล ความชื้นของกองปุ๋ยให้เหมาะสมมี 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่หนึ่ง ให้รดน้ำภายนอกกองปุ๋ยทุกเช้า (ถ้าฝนตกก็ให้งดขั้นตอนนี้) และ ขั้นตอนที่สอง ให้คอยตรวจสอบความชื้นภายในกองปุ๋ยโดยการล้วงมือเข้าไปจับดูเนื้อปุ๋ยดู ถ้าพบว่าวัสดุเริ่มแห้งก็ให้ใช้ ไม้แทงกองปุ๋ยให้เป็นรูลึกถึงข้างล่างแล้วกรอกน้ำลงไป ควรแทงรูและเติมน้ำเช่นนี้รอบกองปุ๋ยระยะห่างกันประมาณ 40 เซนติเมตร ซึ่งอาจต้องทำขั้นตอนที่สองนี้ทุก 7-10 วันถ้าจำเป็น เมื่อเติมน้ำเสร็จแล้วให้ปิดรูไว้เสียเพื่อไม่ให้สูญเสียความร้อนภายในกอง ปุ๋ย


การ เติมความชื้นเข้าไปในกองปุ๋ยขั้น ตอนที่สองนี้แม้ว่าอยู่ในช่วงของฤดูฝนก็ยังต้องมี การเติมน้ำเข้าไปในกองปุ๋ย ทั้งนี้เพราะน้ำฝน ไม่สามารถไหลซึมเข้าไปในกองปุ๋ยได้ ซึ่งเป็น คุณสมบัติเฉพาะของปุ๋ยอินทรีย์ที่จะอุ้มน้ำและ ไม่ยอมให้น้ำส่วนเกินไหลซึมลงไปด้วยแรงโน้ม ถ่วงของโลก จึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคการแทง กองปุ๋ยดังกล่าวเพื่อรักษาระดับความชื้นภายใน กองปุ๋ยให้เหมาะสมอยู่เสมอ ดังนั้น จึงอาจ กล่าวได้ว่าเกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ด้วยวิธี “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” นี้ในฤดูฝนได้ด้วย เพราะฝนไม่สามารถชะล้างเข้าไปในกองปุ๋ยได้

เศษ พืชที่เกษตรกรสามารถนำมาใช้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีนี้ได้แก่ เศษพืชที่เหลือจากการเกษตรกรรมทุกชนิด เช่น ฟางข้าว ซังและเปลือกข้าวโพด เป็นต้น รวมทั้งผักตบชวา เศษผักจากตลาด และเศษใบไม้ทั้งแห้งและสด ส่วนมูลสัตว์สามารถนำมาใช้ได้ทั้งมูลโค มูลไก่ มูลช้าง และมูลสุกร โดยไม่มีผลต่อคุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้

หลัง จากที่วัตถุดิบอยู่ในกองปุ๋ยแบบ “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” ได้ครบ 30 วัน ก็จะมีความสูงเหลือเพียง 1 เมตร โดยไม่มีการพลิก กลับกองหรือเติมอากาศใด ๆ ทั้งสิ้น หลังจากนั้นกองทิ้งไว้เฉย ๆ ให้แห้ง หรือนำไปเกลี่ยผึ่งแดดให้แห้งอีกประมาณ 7 วันเพื่อให้จุลินทรีย์ในกองปุ๋ยสงบตัว เมื่อแห้งดีแล้วก็สามารถนำ ไปใช้ได้อย่างมั่นใจว่าจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยจะไม่ไปรบกวนการเจริญเติบโตของ ต้นพืช

ม.แม่โจ้มีฐานเรียนรู้ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” สำหรับให้ผู้ที่สนใจเข้าชมการสาธิตได้ทุกวันเวลาราชการ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ติดต่อได้ที่ ผศ.ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร โทร. 0-5387-5563.




- ขอบคุณ ข้อมูลจาก คุณชาวนา เวบซ์ เกษตรพอเพียง.คอม


ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธี “วิศวกรรมแม่โจ้ 1”

1.นำเศษข้าวโพดหรือฟางข้าว 4 ส่วนกับมูลสัตว์ 1 ส่วนโดยปริมาตร (ถ้าเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเป็นใบไม้ให้ใช้อัตราส่วนใบไม้ 3 ส่วนกับมูลสัตว์ 1 ส่วนโดยปริมาตร) มาวางเป็นชั้น ๆ จำนวน 15 - 17 ชั้น รดน้ำแต่ละชั้นให้มีความชื้น ขึ้นกองเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีความสูงไม่ต่ำกว่า 1.50 เมตร ฐานกว้าง 2.5 เมตร ส่วนความยาวของกองจะยาวเท่าไรก็ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณเศษวัสดุเหลือทิ้งทาง การเกษตรและมูลสัตว์ที่มี ความสำคัญของการที่ต้องทำเป็นชั้นบาง ๆ 15 - 17 ชั้นก็เพื่อให้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในมูลสัตว์ได้ใช้ทั้งธาตุคาร์บอน (มีอยู่ในเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร) และธาตุไนโตรเจน (มีในมูลสัตว์) ในการเจริญเติบโตและสร้างเซลล์ของจุลินทรีย์ ซึ่งจะทำให้การย่อยสลายวัตถุดิบเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว




นำเศษข้าวโพดหรือฟางข้าว 4 ส่วนกับมูลสัตว์ 1 ส่วนโดยปริมาตร มาวางเป็นชั้นบาง ๆ จำนวน 15 - 17 ชั้น รดน้ำแต่ละชั้น ขึ้นกองเป็นรูปสามเหลี่ยมสูง 1.50 เมตร ฐานกว้าง 2.5 เมตร ส่วนความยาวของกองจะยาวเท่าไรก็ได้



2. รักษาความชื้นภายในกองปุ๋ยให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอตลอดเวลา มีค่าประมาณร้อยละ 60 - 70 โดยมี 2 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 รดน้ำภายนอกกองปุ๋ยทุกเช้า (ถ้าฝนตกก็ให้งดขั้นตอนนี้)

ขั้นตอนที่ 2 ใช้ไม้แทงกองปุ๋ยให้เป็นรูลึกถึงข้างล่างแล้วกรอกน้ำลงไป ระยะห่างของรูประมาณ 40 เซนติเมตร ทำขั้นตอนที่สองนี้ 5 ครั้ง ระยะเวลาห่างกัน 10 วัน เมื่อเติมน้ำเสร็จแล้วให้ปิดรูเพื่อไม่ให้สูญเสียความร้อนภายในกองปุ๋ย ขั้นตอนที่สองนี้แม้ว่าอยู่ในช่วงของฤดูฝนก็ยังต้องทำ เพราะน้ำฝนไม่สามารถไหลซึมเข้าไปในกองปุ๋ยได้ การที่ฝนไม่สามารถชะล้างเข้าไปในกองปุ๋ยได้เกษตรกรจึงสามารถผลิตปุ๋ย อินทรีย์ด้วยวิธีนี้ในฤดูฝนได้ด้วย

ภายในเวลา 5 วันแรก กองปุ๋ยจะมีค่าอุณหภูมิสูงขึ้นมาก บางครั้งสูงถึง 70 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับกองปุ๋ยที่ทำได้ถูกวิธี ความร้อนสูงนี้เกิดจากกิจกรรมการย่อยสลายของจุลินทรีย์ (จุลินทรีย์มีมากมายและหลากหลายในมูลสัตว์อยู่แล้ว) และความร้อนสูงนี้ยังเป็นสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมกับการทำงานของจุลินทรีย์ใน กองปุ๋ยอีกด้วย หลังจากนั้นอุณหภูมิจะค่อย ๆ ลดลงจนมีค่าอุณหภูมิปกติที่อายุ 60 วัน







3. เมื่อกองปุ๋ยมีอายุครบ 60 วัน กองปุ๋ยจะมีความสูงเหลือเพียง 1 เมตร ก็หยุดให้ความชื้น แล้วทำปุ๋ยอินทรีย์ให้แห้งเพื่อให้จุลินทรีย์สงบตัวและไม่ให้เป็นอันตรายต่อ รากพืช วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์ให้แห้งอาจทำโดยทิ้งไว้ในกองเฉยๆ ประมาณ 1 เดือน หรืออาจแผ่กระจายให้มีความหนาประมาณ 20 – 30 ซม. ซึ่งจะแห้งภายในเวลา 3 – 4 วัน สำหรับผู้ที่ต้องการจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ก็อาจนำปุ๋ยอินทรีย์ที่แห้งแล้วไปตี ป่นให้มีขนาดเล็กสม่ำเสมอ ซึ่งจะมีราคาประมาณกิโลกรัมละ 5-7 บาท

กองปุ๋ยที่สูง 1.5 เมตรจะสามารถเก็บกักความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาการย่อยสลายของจุลินทรีย์ เอาไว้ในกองปุ๋ย ความร้อนนี้นอกจากจะเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับจุลินทรีย์ชนิดชอบความร้อน สูงที่มีในมูลสัตว์แล้ว เมื่อความร้อนนี้ลอยตัวสูงขึ้นจะทำให้อากาศภายนอกที่เย็นกว่าไหลเข้าไปในภาย ในกองปุ๋ย (เกิดจากการพาความร้อนแบบปล่องไฟหรือ Chimney Convection) อากาศภายนอกที่ไหลหมุนเวียนเข้ากองปุ๋ยนี้ช่วยทำให้เกิดสภาวะการย่อยสลายของ จุลินทรีย์แบบใช้อากาศ ทำให้กองปุ๋ยไม่มีกลิ่นหรือน้ำเสียใด ๆ